
อาการข้างเคียงของเห็ดหลินจือนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนนั้นทานเห็ดหลินจือแล้วอาจจะไม่มี
อาการแพ้ มีแต่ผลดีที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แต่บางคนอาจจะมีอการแพ้บ้างเช่น มึนหัว ปวดหัว คลื่นไส้ เป็นต้น ลองอ่านอาการแพ้เห็ดหลินจือได้จากบทความนี้ครับ https://thai-reishi.com/16-อาการแพ้เห็ดหลินจือ/
ซึ่งมีผู้ใช้เห็ดหลินจือรายนึงพบว่าทานเห็ดหลินจือแล้ว มีการแพ้ถึง 3 เดือน ซึ่งถือว่านเจอได้น้อยมากเพราะเห็ดหลินจือนั้น สามารถขับออกจากร่างกายได้ อาการข้างเคียงจากการใช้สมุนไพรไม่จำเป็นว่าต้องเกิดกับทุกคน แต่สำหรับผู้มีอาการข้างเคียงจากการใช้อย่างรุนแรงหรือส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้
หากเป็นการรับประทานเห็ดหลินจือในขนาดที่ไม่เข้มข้นมาก หรือทานในรูปแบบที่เป็นอาหารหรือเครื่องดื่มก็สามารถทานได้ เช่นเหดหลินจือต้ม แต่หากใช้ในรูปแบบของสารสกัดที่เข้มข้น ควรศึกษาวิธีการใช้และข้อควรระวังที่ระบุในเอกสารกำกับการใช้ให้ดี โดยปกติไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาหรือสมุนไพร หากไม่มีการระบุการใช้ว่าต้องใช้อย่างต่อเนื่องนานเท่าไร ก็ควรใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น เมื่อหายแล้วก็ควรหยุดใช้ทันที หรือถ้าเป็นสมุนไพรก็ควรมีช่วงหยุดพักการใช้ เช่น อาจจะใช้ 1 เดือน แล้วเว้น 1 เดือน ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ความเหมาะสม
ทั้งนี้การสกัดเห็ดหลินจือด้วยตัวทำละลายในกลุ่มแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล เอทานอล สารที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นสารในกลุ่ม phenolics และสารในกลุ่ม triterpenoids ส่วนการสกัดเห็ดหลินจือด้วยน้ำร้อน (เข้าใจว่าสกัดร้อนหมายถึงการสกัดด้วยน้ำร้อน) สารที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นสารในกลุ่ม polysaccharides ซึ่งสารทั้ง 2 กลุ่มนี้ก็มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดีทั้งคู่ ประสิทธิภาพน่าขึ้นอยู่กับปริมาณสารสำคัญและขั้นตอนที่ใช้สกัดมากกว่า
เกี่ยวกับสารสำคัญในเห็ดหลินจือ พบว่าสารทั้ง 3 กลุ่ม มีฤทธิ์เด่นในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็ง มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง รวมทั้งมีฤทธิ์ปกป้องตับจากสารพิษ ซึ่งสารในกลุ่ม polysaccharides ค่อนข้างจะโดดเด่นในแง่ของฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน นั่นคือจะมีทั้งฤทธิ์กระตุ้นภูมิต้านทาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่ร่างกายอ่อนแอ และมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่ร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน หรือโรคออโตอิมมูน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และมีฤทธิ์ต้านไวรัสด้วย ในขณะที่สารในกลุ่ม triterpenoids จะโดดเด่นในแง่ของฤทธิ์ลดความดันโลหิต ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด และลดไขมันในเลือด แต่ข้อมูลงานวิจัยทั้งหมดยังเป็นเพียงการทดลองในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้นค่ะ หากคุณสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเห็ดหลินจือหรือสารสำคัญในเห็ดหลินจือ ลองอ่านที่นี่เลยครับ สารสำคัญในเห็ดหลินจือ https://thai-reishi.com/สารสำคัญในเห็ดหลินจือ/
ลำดับ | อาการแพ้เห็ดหลินจือ |
---|---|
1 | หลังจากทานเห็ดหลินจืออาจจะมีอาการปวดกลางศรีษะ ถึงท้ายทอย ร่วมกับอาการมึนหัวร่วมด้วย – อาจจะมีอาการความดันต่ำ ขาดสารอาหาร หรือระบบเลือดหล่อเลี้ยงสมองไม่ดี |
2 | อาจจะมีอาการปวดขมับ มึนท้ายทอย อาจมีเพียงอาการเดียว หรือทั้ง 2 อาการพร้อมกัน – อาจจะมีโรคความดันโลหิตสูง |
3 | มึนทั้งหัว พร้อมกับวิงเวียนศีรษะด้วย – ความดันสูงมีไขมันในเส้นเลือดสูง |
4 | มีขี้ตาออกเป็นก้อนหลังจากทานเห็ดหลินจือ – อาจจะมีสภาวะตับเสื่อมทำให้ขับพิษได้ไม่ดีจึงอาจจะมีอาการขี้ตาเป็นก้อน |
5 | น้ำตาไหลเจ็บไหล่ซ้ายมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย – สภาวะปอดเสื่อมระบบหายใจไม่ดี |
6 | ปวดไหล่ขวา มีขี้ตาออก หลังจากทานเห็ดหลินจือ – อาจจะมีสภาวะปอดเสื่อม |
7 | น้ำมูกใสๆไหลตลอดประมาณ 3-5 วัน หลังจากรับประทานเห็ดหลินจือ – อาจจะเป็นภูมิแพ้, โรคไซนัส, ทางเดินหายใจอักเสบ |
8 | อาการเสมหะมาก คอแห้งผากหลังจากรับประทานเห็ดหลินจือ – แสดงว่าระบบหลอดลม, ทางเดินหายใจ มีความสกปรกอุดตัน |
9 | หายใจถี่มาก ใจสั่น – มีสภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ |
10 | จุกเสียดลิ้นปี่ หน้าอก – กระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็กอักเสบ ระบบดูดซึมไม่ดี |
11 | จุกด้านหลัง,ท้องอืด,อึดอัด – ริดสีดวงทวาร การทำงานของระบบขับถ่ายและลำไส้ใหญ่ไม่ดี |
12 | ปวดเอว – เป็นโรคไต, ระบบขับถ่ายของเสียไม่ดี |
13 | ปวดหัวเหน่า – มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากเสื่อม |
14 | ปวดสะโพก เข่า ข้อเท้า อย่างมาก – สภาวะกรดยูริคสูง โรคเก๊าท์ |
15 | ปวดข้อส่วนบน หรือข้อนิ้ว – โรครูมาตอยท์ |
16 | ปวดร้อนร่างกายท่อนบน ร้อนตัววูบวาบ – ระบบหมุนเวียนของโลหิตไม่ดี |